วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคภูมิแพ้ หอบหืดกับคนเมืองที่เป็นกันมากขึ้นเรื่อยๆ


ปัจจุบันพบว่าปัจจัยที่สำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด และความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ หอบหืดคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
  • เพราะคนในเมืองอาศัยอยู่บ้านมาก มักเป็นบ้านที่มีบริเวณน้อย แออัด เป็นห้องปิดและติดเครื่องปรับอากาศเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้กันมากและภูมิแพ้มีอาการรุนแรงขึ้น ประกอบกับการทำงานที่หนักทำให้ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ
  • เด็กทารกเกิดใหม่ได้กินนมแม่น้อยลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหาเกิดโรคภูมิแพ้หอบหืดขึ้นได้มาก ทั้งขณะเป็นทารกหรืออาการอาจเริ่มแสดงเมื่อโตขึ้นแล้ว
  • อาหารจานด่วนกลายเป็นที่นิยมของคนในเมืองมาก ส่วนใหญ่แล้วทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูดซึ่งจัดเป็นสารก่อภูมิแพ้ และทำให้หอบหืดกำเริบได้อย่างหนึ่ง
  • ด้วยบริเวณพื้นที่จำกัด และค่านิยมใหม่ๆ ทำให้การเลี้ยงสัตว์ในบ้านเริ่มทำกันมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นแหล่งสะสมสารก่อภูมิแพ้ชั้นดี
  • การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี
  • มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร
  • การสูบบุหรี่
วิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ และหอบหืดในบ้าน
  • อากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ไม่เกิดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ควรเปิดหน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศบ้างเป็นบางเวลา โดยเฉพาะภายในห้องครัว ห้องน้ำ โดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากเป็นโรคภูมิแพ้เกสรดอกไม้ควรปิดหน้าต่างและบริเวณบ้านให้มิดชิด โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีเกสรดอกไม้ฟุ้งกระจายมาก
  • ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น
  • ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มาก เพราะความชื้นเป็นต้นเหตุของเชื้อราและทำให้เชื้อราซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้อย่างมากชนิดหนึ่งเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มลภาวะกับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด

จริงๆแล้วโรคภูมิแพ้และมลภาวะ เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของตนเองผิดปกติ ทำให้เกิดอาการเมื่อสัมผัสหรือสูดดมสารก่อภูมิแพ้ โดยมีปัจจัยส่งเสริม คือ สภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะสภาวะมลพิษทางอากาศที่นับวันจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ จากสถิติพบว่าเด็กไทยที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครมีอาการเจ็บป่วย และสุขภาพไม่ดี จากโรคภูมิแพ้ หอบหืดเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี

การรักษาโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุดยังมุ่งเน้นไปที่การป้องกันด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองหรือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และมลภาวะต่างๆ แต่หากยังคงมีอาการโรคภูมิแพ้อยู่แพทย์จะพิจารณาใช้ยาแก้แพ้ สเตอรอยด์พ่นจมูกหรือฉีดวัคซีนภูมิแพ้ เพื่อบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ หอบหืดดังกล่าวให้ดีขึ้น

นอกจากโรคภูมิแพ้นอกจากจะทำให้เกิดอาการผิดปกติแล้วยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาอีก เช่น ไซนัสอักเสบ, ริดสีดวงจมูก, หอบหืด, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, ทอลซินอักเสบเรื้อรังหรือทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพการนอน หัวใจ และสมอง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้มีอาการโรคภูมิแพ้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการรักษาเพราะอาจทำให้เกิดโรคอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาอีกได้

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคหอบหืด ที่จริงแล้วเป็นอย่างไร

โรคหอบหืด ที่มักเกิดพร้อมๆกับอาการภูมิแพ้ ตั้งแต่รุนแรงไปจนถึงข่าวคราวที่โรคหอบหืดทำให้เสียชีวิต

โรคหอบหืดโดยทั่วไปแล้วเกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้และหอบหืดที่พบบ่อยคือ ภูมิแพ้ หอบหืดต่อฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่การเกิดภูมิแพ้แบบหอบหืดกับอาหารทะเลก็พบได้บ่อย ความรุนแรงและความถี่ของโรคหอบหืดขึ้นอยู่กับความไวในการตอบสนองสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ในบางรายโรคหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

อาการหลักๆของผู้ป่วยโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการหอบหืดกำเริบคือ การหดตัวของหลอดลมอย่างรุนแรงทำให้หลอดลมตีบ ทางเดินหายใจแคบลง บางครั้งจะมีเสมหะที่เหนียวออกมามากอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่หอบหืดกำเริบจะหายใจลำบาก รู้สึกแน่นหน้าอก สังเกตุได้ง่ายคือจะหายใจถี่ สั้น และมีเสียงดังวี้ดๆ เนื่องจากอากาศเคลื่อนผ่านหลอดลมที่ตีบแคบ โดยเฉพาะเมื่อหายใจออกเกิดอาการเหนื่อยเวลาหายใจ เมื่ออาการหอบเพิ่มขึ้นเวลาหายใจจะมีเสียงดังวี้ดๆ เมื่อเป็นมากขึ้นเรื่อยๆอาจจะเหนื่อยจนไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคหอบหืดจึงต้องมียาพ่นขยายหลอดลมติดตัวตลอดเวลา

เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นส่่วนหนึ่งของโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบง่ายกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนสูง

Fatal Asthma Attack เป็นชื่อเรียกของอาการหอบหืดกำเริบขั้นรุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ มักเกิดในผู้ที่ใ้ช้ยาควบคุมอาการไม่สม่ำเสมอ อยู่ในบริเวณที่มีสารก่อภูมิแพ้ หอบหืดเป็นจำนวนมากโดยไม่มีการป้องกัน อีกกรณีหนึ่ง คือ หลอดลมของผู้ป่วยมีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้บางชนิดอย่างรุนแรง

โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องอาศัยการรักษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ร่างกายแข็งแรงเกิดภูมิต้านทานโรค ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด กินยาหรือพ่นยาตามแพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ โดยยาพ่นจะมีสองแบบ คือพ่นเพื่อป้องกัน และพ่นเมื่อมีอาการ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้ในระบบต่างๆ

ปัจจุบันนี้คนเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด กันมากขึ้นเรื่อยตามความเจริญที่เพิ่มขึ้นแต่สุขภาพกลับแย่ลง คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ 100 คน จะมีโอกาสหายจากโรคภูมิแพ้อย่างมากก็เพียง 50 คนเท่านั้นแถมยังมีโอกาสกลับมาเป็นภูมิแพ้ หอบหืดได้อีกทุกเมื่อหากเจอกับสารก่อภูมิแพ้ปริมาณมากๆ บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืดมานาน มีอาการรุนแรงเรื้อรัง หรือผู้ที่ไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัย และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง

แต่อย่างน้อยปัจจุบันความรู้ก้าวหน้าใหม่ๆ เกี่ยวกับจีโนมิกส์ทางการแพทย์ น่าจะกำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากๆ และเป็นความหวังในการบำบัดรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืดที่รอคอยกันมานาน ในต่างประเทศเริ่มมีการตรวจทางพันธุกรรมในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้นเพื่อค้นหาต้นตอ และสาเหตุที่แท้จริงของโรคภูมิแพ้ หอบหืด ที่จะช่วยให้ตัดตอนได้ตั้งแต่แรก ซึ่งผลการศึกษาวิจัยต่างๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับคนไทยและคนทั่วโลกได้เป็นอย่างดีในอนาคตอันใกล้

โรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้มากและบ่อยที่สุด เกือบ 100% เป็นอาการภูมิแพ้แบบนี้มีอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงเช่นหอบหืด ชนิดอาการที่ไม่มากนัก เช่น จาม น้ำมูกไหล เสมหะมาก คันจมูก โพรงจมูกบวมและอักเสบ rhinitis ส่วนอาการอาการที่หนักขึ้นไปอีก เช่น หอบหืด เกิดจากหลอดลมบีบตัวเฉียบพลัน แน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวกหรือที่เรียกว่า หอบหืด

ส่วนกรณีอาการภูมิแพ้ระดับรุนแรงที่สุด คือหลอดลมเล็กๆ ในปอดหดเกร็งหมด อวัยวะในการหายใจ เช่น กะบังลมก็หดเกร็ง แน่นหน้าอกมาก เกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวและตายในระยะเวลาเพียงไม่นาน ส่วนใหญ่รักษาแทบไม่ทัน เช่น รายที่แพ้ยาช็อกตาย หรือ anaphylaxis เป็นต้น

โรคภูมิแพ้ระบบผิวหนัง

อย่างที่รู้กันว่าอาการโรคภูมิแพ้นั้นเกิดได้กับหลายระบบของร่างกายนอกเหนือจากระบบทางเดินหายใจได้ด้วย เด่นๆเลย เช่น อาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง เช่น หากทานอะไรบางอย่าง ผิวหนังก็เป็นผื่นคันทุกทีหรือที่เรียกว่าลมพิษ เกิดได้ทั้งชนิดฉับพลันและชนิดเรื้อรังเป็นตลอดนานหลายปี อีกแบบที่พบมากก็คือผื่นผิวหนังอักเสบซึ่งอาจปวดแสบปวดร้อนแต่คันน้อยหน่อย หลายชนิดที่เกิดจากสาเหตุการเกิดภูมิแพ้เช่นกัน มักจะเป็นอยู่เรื่อยๆ และรักษาได้ีค่อนข้างยากกับโรคภูมิแพ้แบบนี้

โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินอาหาร

เป็นที่น่าแปลกใจว่าระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ ก็อาจเกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้แต่เรามักมองข้ามและไม่คิดว่าเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น ปากเป็นแผล คันบริเวณเพดานปาก กระเพาะ ลำไส้มีการอักเสบ ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ท้องอืด และอีกหลากหลายอาการที่เกิดเมื่อมีโรคภูมิแพ้กำเริบในระบบทางเดินอาหาร

บางคนลำไส้อาจมีการอักเสบเรื้อรัง เช่น บางคนอาจแพ้โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีในข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ โปรตีนชนิดนี้เรียกว่ากลูเด็น gluten sensitivity จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ต่อมาทำให้มีความรู้สึกไวต่ออาหารอื่นๆ บางชนิดต่อไปอีก ซึ่งอาจจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเล็กน้อย เรื้อรังไปเรื่อย ๆ

ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ หอบหืดได้ ที่นีี่่

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รักษาภูมิแพ้ที่ตา

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อาการภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายส่วนของร่างกาย รวมถึงดวงตาด้วย บทความนี้จะเน้นในเรื่องภูมิแพ้ที่ตา และการรักษาภูมิแพ้ที่ตากันครับ

ภูมิแพ้ที่ตายังแบ่งออกได้อีกหลายชนิดตามตำแหน่งในตาที่เป็น เช่น เปลือกตา เยื่อตา หนังตาอักเสบ กระจกตา ภูมิแพ้ที่ตาอาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ดวงตา เช่น ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตา เครื่องสำอางที่ใช้ และสาร ฝุ่นต่างๆ เกษรดอกไม้ที่ฟุ้งกระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อมก็ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่ตาได้ โดยเกิดอาการภูมิแพ้อาจเกิดทันทีภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือใช้เวลาระยะหนึ่ง 24-72 ชั่วโมง

อาการภูมิแพ้ที่ตา จะมีอาการคันตา ตาแดง ตาบวม บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาแพ้ที่ส่วนอื่นร่วมด้วยหรือภูมิแพ้ทั้งร่างกาย ในบางรายพบเปลือกตาแดงหนาแข็ง พุพอง อาจมีขี้ตา หรืออาจพบผิวกระจกตาหลุดลอก ยาที่พบว่ามักทำให้เกิดอาการภูมิแพ้เหล่านี้ ได้แก่ ยาขยายม่านตา ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส หรือแม้กระทั่งสารกันเสียที่ผสมอยู่ในยา การดูแลรักษาอันดับแรกต้องหยุดการใช้ยาทันที ทำการประคบเย็นเพื่อไม่ให้หลอดเลือดขยายตัว หยอดยาแก้แพ้ ยาลดอักเสบ บางรายที่เป็นเรื้อรังมักพบมากในเด็ก

การวินิจฉัยอาจทำได้ยาก เพราะโรคเกี่ยวกับดวงตานอกเหนือจากภูมิแพ้ที่ตา ก็มีอยู่มากมาย ฉะนั้นก่อนจะทำการรักษาภูมิแพ้ที่ตา ควรแน่ใจเสียก่อนว่าเป็นภูมิแพ้อย่างแน่นอน สามารถสังเกตได้หลายจุด ผู้ใหญ่บางรายอาจมีรอยโรคบริเวณข้อพับ ในเด็กพบบริเวณใบหน้าและส่วนนอกของข้อพับ การวินิจฉัยว่าคนนั้นเป็นภูมิแพ้หรือไม่อาจมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวร่วมด้วย เช่น หอบหืด แพ้อากาศ บริเวณหนังตาจะแห้งมีสะเก็ดเป็นแผ่น

การดูแลรักษาอาจใช้โลชั่นช่วยให้ชุ่มชื้น ไม่ควรใช้ยาครีมหรือขี้ผึ้งกลุ่มสเตอรอยด์นานเพราะจะทำให้ผิวบาง จึงควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เยื่อตาอักเสบ สารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่อยู่ในอากาศเข้าสู่น้ำตาและเยื่อตา ต่อมามีหลอดเลือดขยายตัว ตาแดง เยื่อตาบวม เปลือกตาบวม คันตา และมีขี้ตาเหนียวปนเมือก มักมีประวัติภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ และหอบหืด การทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง อาจช่วยบอกสาเหตุว่าแพ้อะไร การรักษาที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ กำจัดฝุ่นและไรฝุ่นในบ้าน โดยเฉพาะผ้าปูที่นอน ใส่แว่นตากันแดด กันลม กันฝุ่น ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด หากมีอาการคันตา ตาบวม เคืองตา การประคบเย็นจะช่วยลดอาการได้ ถ้ามีระคายเคือง ตาแห้ง ควรหยอดน้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสียบ่อยๆ เพื่อเจือจางหรือล้างสารก่อภูมิแพ้ออกจากตา สำหรับในรายที่มีอาการคันตามาก ควรหยอดยาแก้แพ้ และ/หรือ ยากลุ่มลดอาการอักเสบ อย่างไรก็ตามควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพกระจกตาด้วย เนื่องจากในรายที่มีเยื่อตาอักเสบชนิดรุนแรงอาจมีแผลที่กระจกตาด้วย

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ภูมิแพ้หอบหืดเด็กเล็ก และวิธีหลัก 3 วิธีหลีักหนีโรคหอบหืด ภูมิแพ้

สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ โรคภูมิแพ้และโรคหอบหืดในเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กพูดไม่ได้ บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร ที่สำคัญเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อาการภูมิแพ้และหอบหืดอาจจะนำไปสู่การเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสที่ค่อนข้างดื้อต่อยาหลายๆยา รักษายาก และมักทำให้เกิดกลุ่มโรคติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อเชื้อดังกล่าวมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเชื้อนี้อาศัยอยู่ในลำคอของคนเรา และจะมีมากในเด็กเล็ก ซึ่งเมื่อเด็กเล็กมีอาการภูมิแพ้ที่มีอาการเด่นเป็น อาการหอบหืด เมื่อเหนื่อยหอบและหายใจแรงจากโรคหอบหืด เชื้อจะมีโอกาสหลุดเข้าไปสู่อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ลึกเข้าไปภายในได้ โดยสามารถหลุดเข้าไปได้ถึงสมองและก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ และยังเข้าสู่อวัยวะอื่นๆที่เชื่อมต่อกันได้ทั้งสิ้น

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักสังเกตอาการแทรกซ้อนในเด็กเล็ก เมื่อเกิดการการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสคือ มีไข้ขึ้นสูง งอแงและมักซึมไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที หายใจหอบ หอบหืด ติดขัด หรือมีเสียงวี้ดๆ เป็นอาการเตือนควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะเพียง 2-3 วันเท่านั้นเชื้อนิวโมคอสคัสก็สามารถแสดงอันตรายได้สูงสุด

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลเด็กเล็กคือความเอาใจใส่ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อย ควรใส่ใจดูแลสุขอนามัยในบ้านอย่างดีที่สุดและต้องทำอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมไม่ให้โรคนี้ก่อปัญหารบกวนชีวิตประจำวันนั้นสามารถทำได้แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ด้วย 3 วิธีหนีหอบหืดง่ายๆ ดังนี้

1. ทำการสังเกต ค้นหาว่าร่างกายมีปฏิกิริยาภูมิแพ้ หอบหืดต่อสิ่งใดบ้าง และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น กำจัดให้พ้นจากที่พักอาศัย
2. หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น มลภาวะ ควันบุหรี่ กลิ่นฉุนต่างๆ
3. ทานยา รักษาสุขอนามัยเป็นประจำ และออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคภูมิแพ้ หอบหืดจากแมลงสาบ

อาการภูมิแพ้แมลงสาบ อาจมีเพียงเล็กน้อย ซึ่งมักมีอาการเกิดขึ้นได้ตลอดปี เช่น ที่พบบ่อยคือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic rhinitis) และโรคหืด (asthma) คันที่ผิวหนัง คอ ตาและจมูก หากเกิดอาการในกลุ่มเด็กจะมีความรุนแรงมากกว่า อาจทำให้เกิดโรคหอบหืดและหายใจไม่ออก จนต้องไปโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉินหรือเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และมีโอกาสเสียชีวิตได้ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน

นอกจากนี้คณะผู้วิจัยนำโดย ศาสตราจารจารย์ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ยังได้พัฒนาวัคซีน โดยการนำโปรตีนของแมลงสาบกว่า 20 ชนิด มาตรวจสอบว่าชนิดใดก่อให้เกิดภูมิแพ้ เมื่อทราบว่าโปรตีนจากแมลงสาบชนิดใดที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้และเป็นโปรตีนที่ไม่พบในคน จึงนำมาพัฒนาเป็นวัคซีนต้นแบบสำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้แมลงสาบได้สำเร็จเรียกว่า วัคซีนดีเอ็นเอ โดยการนำดีเอ็นเอที่สร้างโปรตีนแมลงสาบมาเชื่อมกับดีเอ็นเอของสารช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของคน ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้ป่วย

อย่างไรก็ตามโรคภูมิแพ้ไม่เฉพาะที่มาจากแมลงสาบนับวันจะพบมากขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สิ่งที่เป็นปัญหาของการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยนั้น ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าในบ้านจะมีสารก่อภูมิแพ้ใด จึงทำให้แพทย์เกิดแนวคิดในการทำชุดทดสอบต่าง ๆ เพื่อตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในบ้านโดยเฉพาะเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอดีตจะใช้ชุดตรวจสอบจากต่างประเทศซึ่งเป็นแมลงสาบคนละสายพันธุ์กับไทย ทำให้ไม่ได้มาตรฐาน แต่วันนี้เราสามารถพัฒนาน้ำยาดังกล่าวได้สำเร็จ และนำมาใช้ในการตรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คลิกติดตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คลิก

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรักษาภูมิแพ้อากาศและโพรงจมูกอักเสบ

ขั้นแรกของการรักษาภูมิแพ้อากาศคือต้องผ่านการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศอย่างแน่นอนเสียก่อน จึงจะพิจารณาการรักษาภูมิแพ้อากาศที่เหมาะสมได้ โดยการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้อากาศนี้จำเป็นต้องมีการซักประวัติในส่วนต่างๆอย่างละเอียด ทั้งประวัติการเป็นภูมิแพ้อากาศของตัวผู้ป่วยเองและและประวัติการเป็นภูมิแ้พ้อากาศของคนในครอบครัว
เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นภูมิแพ้อากาศแล้ว ก็ต้องทำการขจัดสิ่งต่างๆที่อาจทำให้เกิดภูมิแพ้อากาศมากขึ้น เช่นสสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน ล้วนมีผลทำให้เกิดอาการภูมิแพ้นอกเหนือจากภูมิแพ้อากาศไดัทั้งสิ้น เนื่องจากผู้ป่วยมีแนวโน้มจะเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ดังนั้นหากอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงและไม่มีการป้องกันอย่างถูกวิธี จะทำให้การรักษาภูมิแพ้อากาศทำได้ยากยิ่งขึ้น

โรคภูมิแพ้อากาศมักมีอาการเกี่ยวกับการอักเสบในระบบทางเดินหายใจได้ตั้งแต่ส่วนบนจนถึงส่วนล่าง ที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเยื่อบุผนังโพรงจมูกที่มักบวม แสบ และคัดมากเมื่ออาการภูมิแพ้อากาศกำเริบ
โดยกลุ่มอาการของโรคภูมิแพ้อากาศทางจมูกนี้ อาจแบ่งแยกได้อีกเป็น 4 ชนิดคือ
1. รูปแบบอาการคัดจมูกเด่น แต่ไม่ค่อยมีอาการจาม น้ำมูก
2.ภูมิแพ้อากาศชนิดมีน้ำมูกไหลเป็นอาการเด่น ซึ่งพบได้ค่อนข้างมากที่สุดเกือบทุกราย โดยสร้างความรำคาญได้มากเพราะน้ำมูกไหลตลอดเวลา ต้องพกกระดาษทิชชู่ตลอดเมื่อภูมิแพ้อากาศกำเริบ ร่วมกับอาการจาม คันจมูก ผู้ที่เข้ารับการรักษาภูมิแพ้อากาศส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบนี้ เนื่องจากทนการรบกวนการทำงานไม่ไหว
3. คือแบบที่มีลักษณะของ 2 ชนิดแรกรวมกัน คือมีทั้งน้ำมูกไหลมากและอาการคัดจมูกมาก
4.ชนิดสุดท้ายมีอาการค่อนข้างแปลก และวินิจฉัยได้ยากว่าเป็นภูมิแพ้อากาศ โดยมักมีอาการไอเรื้อรังจากภาวะคันคอ ซึ่งเกิดจากเสมหะไหลลงคอ เสมหะมาก อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่คุ้นเคยและพบได้น้อยเมื่อพูดถึงโรคภูมิแพ้อากาศในขณะที่บางคนมีอาการร่วมที่แปลกกว่านั้นคืออาการปวดหัวเรื้อรังร่วมด้วย หรือถอนหายใจบ่อยๆ

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารขยะกับโรคภูมิแพ้และหอบหืด

การตรวจสอบหาสารก่อภูมิแพ้ ก็มักจะใช้วิธี Skin Test ทดสอบสารหลายๆอย่างที่เรามักพบเจอ แต่แพทย์ก็มักจะทำการทดสอบเพียงสารบางอย่างเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังถูกมองข้ามโดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ซ่อนอยู่ใกล้ตัวมากๆ และในปัจจุบันอาจเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ีมีผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดมากขึ้นก็ได้ นั่นคือ อาหารขยะ

สารหลายตัวที่มีอยู่ในอาหารที่เรากิน มักไม่ได้ถูกนับอยู่ในสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจด้วย Skin test อาจเป็นเพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเกินไปจนนึกไม่ถึง ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เองก็ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า อาหารการกินที่ดูสะอาด อยู่ในร้านที่ดูสุขลักษณะดี จะมีสารก่อภูมิแพ้อยู่มากทีเดียว ฉะนั้นการที่รักษาภูมิแพ้ หอบหืดอาการไม่ดีขึ้นสักทีอาจเป็นเพราะ พวกเขายังรับเอาสารก่ออาการแพ้เข้าสู่ตัวอยู่เสมอ จากสิ่งที่เราคิดว่าสะอาด และดูดี สารในอาหารที่มักทำให้เกิดอาการภูมิแพ้และหอบหืดได้แก่ กลุ่มสารแต่งสีอาหาร เช่น ทาร์ทราซีน (สีเหลืองส้ม), คาร์มัวซีน (สีม่วงแดง), อะมาแรนต์ (สีแดง), อพอนเซีย (สีแดง) ซึ่งปัจจุบันก็อยูี่ในอาหารรูปร่างหน้าตาน่ารับประทานเกือบทุกชนิด

ที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กับกลุ่มของสีก็คือกลุ่มของสารกันบูด เช่น โซเดียมเบนโซเอท, กรดเบนโซอิก, เกลือเบนโซเอท, เกลือไนไตรด์, เกลือไนเตรท พบได้มากในอาการยอดฮิตปัจจุบันคืออาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงขนมต่างๆ บะหมี่ซอง, ขนมซอง อาหารกล่องพร้อมนึงไมโครเวฟ หรือแม้แต่เครื่องปรุงอาหารเช่น น้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊วและซอสต่างๆ ก็มีสารกันบูดปนอยู่เหมือนกัน

ผงชูรส อันนี้น่าจะเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสารก่อภูมิแพ้ เพราะอาจจะได้เห็นเพื่อนๆของเราเองบางคนที่กินอาหารตามร้านอาหารแล้วลิ้นชา ปากชา ปากบวม ผื่นขึ้น และอักเสบของผิว เรียกได้ว่าบางคนรู้ได้ทันทีเลยว่าอาหารที่ตนกินอยู่มีผงชูรสอยู่มากน้อยเพียงใดจากอาการแพ้ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดหลังทานอาหารเสร็จ บอกได้ทันทีหลังกินอาหารมาว่า โดนผงชูรสเข้าให้แล้ว

อาหารขยะแทบทุกชนิด หรือ อาหารดัดแปลง ปรุงแต่งต่างๆ อาการกึ่งสำเร็จรูป มีสารจำพวกนี้เป็นส่วนประกอบเยอะมาก อย่างน้อยๆก็ต้องมี 3 อย่างขึ้นไปเพื่อคงสภาพของผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีม มีการใส่ทั้งสารเพิ่มเนื้อ สารแต่งสี สารกันหืน, เนยมีการใส่สารกันหืน สารกันบูด หรือแม้แต่สารแต่งสีเข้าไป เป็นต้น

ฉะนั้นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืด ต้องใส่ใจกับสิ่งใกล้ตัว ที่ดูแล้วอาจไม่มีพิษภัยใดๆ ให้มากขึ้นนะครับ เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปอะไรๆก็เปลี่ยนตาม

เครดิตข้อมูลดีๆจาก เว็บไซต์ดีๆ

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ไรฝุ่นกับโรคภูมิแพ้และหอบหืด

สาเหตุของการเกิดอาการภูมิแพ้และหอบหืดที่สำคัญ และหนีมันไม่พ้นเพราะมันอยู่ในที่พักอาศัยของเรานี่เอง นั่นคือไรฝุ่น สิ่งมีชีวิตตัวจ้อยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สร้างโรคร้ายอย่างภูมิแพ้และหอบหืดให้เราต้องเผชิญไปตลอดชีวิต

ไรฝุ่นจัดเป็นสัตว์มีชีิวิตขนาดเล็กมากตาเปล่ามองไม่เห็น อยู่ในตระกูลขาข้อตระกูลเดียวกับ หิด แมงมุม แต่ตัวมีขนาดที่เล็กกว่ามากประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร มีสีขาวคล้ายฝุ่น วิ่งเร็ว อาศัยและเติบโตอยู่ปะปนในฝุ่นจึงทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก กินเศษผิวหนังที่หลุกร่วงของมนุษย์เป็นอาหารและขับถ่ายออกมาเป็นฝุ่น ไรฝุ่นและมูลเป็นสาเหตุสำคัญมากในการก่อโรคภูมิแพ้และหอบหืด ชนิดที่พบบ่อยในฝุ่นภายในบ้านและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้มี 2 ชนิดคือ ไรฝุ่นชนิดDermatophagoides pteronyssinus (DP) และ Dermatophagoides farinae (DF) แหล่งที่พบไรฝุ่นได้มากที่สุดคือห้องนอน ด้วยวัสดุของเฟอร์นิเจอร์ในห้องนอนประกอบกับอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ มีการทดสอบตรวจไรฝุ่นภายในห้องนอน พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในห้องนอนจะมีไรฝุ่นอยู่มากกว่าล้านตัว โดยอาศัยอยู่กับผ้าปูที่นอน หมอน พรม และผ้าม่าน ลองคิดดูว่าเราจะหนีมันพ้นได้อย่างไรในเมื่อมันนอนอยู่กับเราทุกวัน

ดังนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดที่ต้องกำจัดไรฝุ่นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
กำจัดตัวไรฝุ่นได้อย่างไร
- ใช้ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตด้วยผ้ากันไรฝุ่นสำหรับคลุม ผ้าบางชนิดใช้วิธีทอให้เส้นใยถี่แน่น ซึ่งผ้าชนิดนี้มีรูห่างของผ้าแคบมากจนตัวไรและมูลไม่สามารถเล็ดลอดไปเกาะตามเฟอร์นิเจอร์ได้ หรือบผ้าบางชนิดใช้สารฆ่าไรฝุ่นเคลือลงบนผ้าหรือบนผิวผ้าเลย และควรซักผ้านี้ทุก 2 สัปดาห์
- เครื่องนอนทุกชนิด เช่น ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง(ที่ถ้าเป็นไปได้ควรใช้แบบผ้ากันไรฝุ่น) ที่นอน หมอน มุ้ง ออกตากแดดจัดๆ ทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นวิธีกำจัดไรฝุ่นอย่างหนึ่ง ตากแดดอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที แสงแดดจัดฆ่าตัวไรได้
- ควผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน มุ้ง ผ่าห่ม ผ้าม่านและผ้าคลุมเตียง ต้องซักทำความสะอาดทุกสัปดา์ห์ ถ้าจะให้ดีสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดที่สุด ควรซักด้วยน้ำร้อนประมาณ 60 องซาเซลเซียส นาน 30 นาที หรืออย่างน้อยที่สุดเดือนละ 2 ครั้ง (สัปดาห์ละ 1 ครั้งได้ก็ยิ่งดี) เพื่อฆ่าไรฝุ่นภูมิแพ้ที่ติดอยู่(นับล้าน)
- บางรายใช้สารเคมีฆ่าตัวไรฝุ่น แต่ลืมคิดไปว่าผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืด ก็อาจเกิดอาการจากสารเคมีที่ใช้ได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้นจะตายทั้งไรฝุ่นทั้งผู้ป่วยภูมิแพ้ ไม่ควรใช้สารเคมีนะครับ
- ถ้ามีทุนทรัพย์ เครื่องกรองอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศชนิดต่างๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีและมีประโยชน์ในการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่ฟุ้งกระจายอยู่ภายในบ้าน แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับตัวไรฝุ่น

อย่างน้อยที่สุดถึงจะหลีกหนีไรฝุ่นอย่างสมบูรณ์ไม่ได้ เพราะัมันอยู่ร่วมกับเรามานานและเยอะมากเสียด้วย แต่อย่างน้อยเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืด ก็ควรดูแลบ้านให้ปราศจากไรฝุ่นที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หอบหืดกับภูมิแพ้ สองโรคที่แยกกันไม่ออก

โรคหอบหืด เป็นอีกโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความเจริญของสังคมเมืองและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง โรคหอบหืดเป็นโรคที่แสดงอาการเป็นครั้งคราว ความถี่ของแต่ละคนขึ้นอยู่ความรุนแรงของโรคและสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ บางคนก็กำเริบถี่มาก บางคนก็ไม่กำเริบเลยตลอดปี สิ่งที่ทำให้โรคหอบหืดกับภูมิแพ้แยกกันไม่ออกก็คือ ภูมิแพ้ทำให้หลอดลมตีบ หอบหืดก็จะกำเริบ และอาการหอบหืดกำเริบก็เริ่มต้นด้วยการได้รับสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ต้องควบคุมอาการของโรคทั้งสองนี้ไปพร้อมๆกัน

อาการของผู้ป่วยโรคหอบหืดขณะที่กำเริบคือหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ ที่เรียกว่าจับหืดคือ จะเริ่มหายใจลำบากเพราะหลอดลมมีการหดตัว มีอาการแน่นหน้าอก หายใจแล้วเหมือนอากาศไม่เข้าสู่ปอดหรือเข้าสู่ปอดได้น้อย ต้องหายใจเร็วๆขึ้นเรื่อยๆ อึดอัด มักมีเสียงดังวี้ดๆ ขณะหายใจ ซึ่งโดยมากแล้วหอบหืดจะมีอาการบ่อยและรุนแรงในช่วงเวลากลางคืนมากกว่าเวลากลางวันโดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้อากาศเย็น ในรายที่เป็นอาการไม่รุนแรงอาจควบคุมอาการได้โดยการใช้ยาแก้แพ้ทั่วไป แต่ในรายที่เป็นหอบหืดเต็มตัว ต้องใช้ยาขยายหลอดลม ในระยะแรกเมื่อมีอาการกำเริบอาจบรรเทาได้อย่างง่ายดายด้วยยาขยายหลอดลมชนิดพ่น การใช้ยาเริ่มต้นมักใช้ยาพ่นก่อน แต่้ถ้าโรคหอบหืดอาจจะีมีการดำเนินไปโดยอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจต้องพิจารณาใช้ยารับประทานร่วมด้วย หรือเพิ่มยาพ่นขึ้นอีกหนึ่งชนิด นอกจากนี้อาจต้องมีการใช้ยาอื่นๆร่วมด้วยเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดเสมหะในกรณีมีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจมาก เป็นต้น แต่ยาที่ผู้ป่วยต้องมีติดตัวตลอดเวลาคือ ยาพ่นขยายหลอดลมไว้ใช้ทันทีเมื่อเกิดอาการหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาหอบหืด ลองคลิกดู