วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โรคหอบหืดคืออะไร ควรทำอย่างไร

โรคหอบหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

หลอดลมของเด็กที่เป็นหอบหืดนั้น เชื่อว่ามีความไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้น ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัวแคบลง เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น และสร้างเมือกเหนียว ซึ่งจะยิ่งทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลงอีก ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น สิ่งกระตุ้นเหล่านี้เช่น โรคหวัด ควันบุหรี่ ฝุ่น ละอองเกสร การออกกำลังกาย ขนสุนัข ขนแมว ฯลฯ

ให้ตระหนักไว้ว่า ในเด็กเล็กๆ ที่อายุ 1 - 2 ปีนั้น โรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการหวัด ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัส และไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ได้ แต่หอบหืดในเด็กวัยเรียน จะเกิดในเด็กที่มีโรคภูมิแพ้จริงๆ

โรคหอบหืดมีอาการอย่างไร ?

มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมีเสียงวี้ดๆ ในช่วงหายใจออก เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนมากขึ้น ก็เกิดอาการหอบมาก ปากซีดเขียว ใจสั่น บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ทำให้คนไข้มีอาการไม่มากแต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ เด็กๆ บางคนจะมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมไปด้วย ซึ่งอาการไอจะดีขึ้น หลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะหนียวๆ ออก

ให้สังเกตไว้ว่า การไอของเด็กเล็กๆ เช่น ไอแห้งๆ ที่ระคายเคือง ( dry irritating ) อาจเป็นอาการแสดงของโรคหอบหืดอย่างเดียว เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าต้องมีเสียง Wheez จึงจะเป็นหอบหืด เด็กที่แข็งแรงดีมักจะไม่ไอ ยกเว้นหวัดอย่างรุนแรง

 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่อะไรบ้าง ?
  1. ควันบุหรี่ เป็นสิ่งที่อันตรายต่อปอดที่กำลังเจริญเติบโตของเด็ก และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้
  2. ตัวไรฝุ่น ฝุ่น มักอาศัยอยู่ที่เตียงนอน หมอน พรม เฟอร์นิเจอร์ บุนวม จึงควรนำไปตาก หรือผึ่งแดดบ่อยๆ ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน ใช้ผ้าชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติป้องกันตัวไรฝุ่นคลุมที่นอน หมอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนด้วยน้ำอุณหภูมิ 60 ? c สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์ หรือฟองน้ำ และไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
  3. ละอองเกสรในบางฤดู ควรหลีกเลี่ยงในบางฤดู และอาจเพิ่มปริมาณของยาป้องกันด้วย
  4. สัตว์เลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงสุนัข แมวในบ้าน เพราะเด็กหอบหืดบางคนจะแพ้ขนสัตว์ ซึ่งอาจรวมถึงนกด้วย
  5. เชื้อรา ที่ชื้นๆ มักมีเชื้อรา ควรให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  6. การออกกำลังกาย ถ้าควบคุมโรคหอบหืดได้ดี จะไม่มีปัญหาในการออกกำลังกาย หรือวิ่งเล่นซึ่งควรให้เด็กได้มีกิจกรรมนี้ตามปกติ
  7. อากาศเย็น เด็กบางคนกระทบอากาศเย็น มักจะไอ หรือหายใจมีเสียงวี้ด การใช้ยาขยายหลอดลม 1 ครั้ง ก่อนเข้าห้องที่เย็นๆ จะช่วยได้

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ตาเกิดโรคภูมิแพ้ได้ด้วย

โรคภูมิแพ้ที่ตาแบ่งได้ตามตำแหน่งที่เป็น เช่น เปลือกตา เยื่อตา กระจกตา หนังตาอักเสบ อาจเกิดจากยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้ายตา เครื่องสำอาง และสารต่างๆที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเกิดอาการทันทีภายในเวลาไม่กี่นาที หรือใช้เวลาระยะหนึ่ง 24-72 ชั่วโมง ก่อนมีอาการภูมิไวเกิน ซึ่งจะมีอาการคันตา ตาแดง ตาบวม บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาแพ้ทั้งร่างกาย ในบางรายมีเปลือกตาแดงหนาแข็ง พุพอง ผลที่ตามมาคือ ผิวหนังคล้ำ แผลเป็น และเปลือกตาล่างแบะออก อาจมีขี้ตา ผิวกระจกตาหลุดลอก

ยาที่พบร่วมกับอาการเหล่านี้ ได้แก่ ยาขยายม่านตา ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส สารกันเสียที่ผสมอยู่ในยา การดูแลรักษาจำเป็นต้องหยุดยา ประคบเย็น หยอดยาแก้แพ้ ยาลดอักเสบ ในรายที่เป็นเรื้อรังมักพบในเด็ก มักเกิดจากตัวกระตุ้นที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนอากาศ และปัจจัยทางสภาพจิตใจ ผู้ใหญ่บางรายอาจมีรอยโรคบริเวณข้อพับ ในเด็กพบบริเวณใบหน้าและส่วนนอกของข้อพับ อาจมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น หอบหืด แพ้อากาศ บริเวณหนังตาจะแห้งมีสะเก็ดเป็นแผ่น การดูแลรักษาอาจใช้โลชั่นช่วยให้ชุ่มชื้น ไม่ควรใช้ยาครีมหรือขี้ผึ้งกลุ่มสเตอรอยด์นานเพราะจะทำให้ผิวบาง จึงควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เยื่อตาอักเสบ

สารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่อยู่ในอากาศเข้าสู่น้ำตาและเยื่อตา ต่อมามีหลอดเลือดขยายตัว ตาแดง เยื่อตาบวม เปลือกตาบวม คันตา และมีขี้ตาเหนียวปนเมือก มักมีประวัติภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ และหอบหืด การทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง อาจช่วยบอกสาเหตุว่าแพ้อะไร การรักษาที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ กำจัดฝุ่นและไรฝุ่นในบ้าน โดยเฉพาะผ้าปูที่นอน ใส่แว่นตากันแดด กันลม กันฝุ่น ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด หากมีอาการคันตา ตาบวม เคืองตา การประคบเย็นจะช่วยลดอาการได้ ถ้ามีระคายเคือง ตาแห้ง ควรหยอดน้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสียบ่อยๆ เพื่อเจือจางหรือล้างสารก่อภูมิแพ้ออกจากตา สำหรับในรายที่มีอาการคันตามาก ควรหยอดยาแก้แพ้ และ/หรือ ยากลุ่มลดอาการอักเสบ อย่างไรก็ตามควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพกระจกตาด้วย เนื่องจากในรายที่มีเยื่อตาอักเสบชนิดรุนแรงอาจมีแผลที่กระจกตาด้วย


วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคหอบหืดเป็นเช่นไร

โรคหอบหืด คืออะไร มีพยาธิสภาพอย่างไร??

ความหมายของโรคหอบหืด

ลักษณะอาการของโรคหอบหืดคือเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดลมอย่างเรื้อรัง [Chronic inflammatory] ตามมาด้วยการที่cell ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการภูมิแพ้และตอบสนองต่อการอักเสบ เช่น mastcell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil เพิ่มจำนวนมากขึ้นและวิ่งมาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ส่งเสริมห้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงต่อสารก่อภูมิแพ้ ไวกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลที่เกิดเนื่องจากภูมิแพ้และการอักเสบตลอดจนการปลดปล่อยสารเคมีต่างๆภายในร่างกายจากการอักเสบคือเยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบบริเวณหลอดลม เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่ มีเสี่ยงดังวี้ด ๆ ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ไม่นานนัก

การเปลี่ยนแปลงสภาพของหลอดลมขณะที่โรคหอบหืดกำเริบ

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอด และร่างกายมีการปลดปล่อยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการภูมิแพ้เีรียบร้อยแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินหายใจดังนี้

1.Acute bronchoconstriction การหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบรอบๆ หลอดลม ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง อากาศผ่านได้ยากขึ้น

2.Air way edema การคั่งของสารน้ำบริเวณทางเดินหายใจ เพิ่มการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะเกิดอาการหอบหืด

3.Chronic mucous plug formation มีการสร้างเสมหะมาอุดกั้นทางเดินอากาศเพิ่มขึ้น

4.Air way remodeling กล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม มีการหนาตัวขึ้นจากการอักเสบ ช่องทางเดินอากาศยิ่งแคบลง

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สู้กับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดด้วยอาหาร

อาหารการกินก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้เราสู้กับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้ดีขึ้นจากภายใน ช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย

สิ่งที่เราควรทานเป็นประจำคือทานผักและผลไม้หลากสีเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันอาหารเสริมอย่างกรดไขมันโอเมก้า-3ต้านการอักเสบ มลภาวะเป็นพิษและความเครียดเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ฉะนั้นเราจึงต้องสู้กับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดด้วย อาหารจากธรรมชาติตามคำแนะนำของคุณทีน่า โฮร์เรลล์นักธรรมชาติบำบัดจาก ตรัยยาศูนย์สุขภาพองค์รวมและสปาอาการของโรคภูมิแพ้นอนไม่หลับหลับๆตื่นๆอ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ มีอาการคันแบบเป็นๆ หายๆ มีน้ำมูกไหลตอนเช้า จาม และคัดจมูก

ผักและผลไม้มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ในการช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงเพื่อมีแรงต่อสู้กับโรคภูมิเเพ เเละเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการกินผัก และผลไม้หลากสีสันเช่น สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว หรือสีม่วง
Tip: ควรกินข้าวกล้อง เพราะสีน้ำตาลหรือสีแดงที่เคลือบข้าวกล้องคือสารแอนตี้ออกซิแดนต์ชั้นยอด
ส่วนข้าวขาวนั้นมีแต่แป้งและน้ำตาล
อาหารต้านการอักเสบ เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะมีการอักเสบภายใน อาหารที่จะช่วยรักษาอาการอักเสบก็คือปลาทะเลน้ำลึก
(มีกรดไขมันโอเมก้า -3) ถั่ววอลนัต และถั่วเหลือง ดีท็อกซ์ตับ ตับมีหน้าที่ขับสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อตับแข็งแรงและทำงานได้ดีก็จะช่วยให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายมีสุขภาพดีไปด้วย
อาหารที่ช่วยตับขจัดสารพิษก็คือผักและผลไม้ที่มีรสขม เช่น มะระ ส้มโอ หน่อไม้ฝรั่งภูมิแพ้อาหารอาการภูมิแพ้ส่วนใหญ่
มักเกิดจากอาหารที่กินแล้วเกิดการสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เมื่อพบว่าแพ้อะไร ก็ให้หยุดกินอาหารที่แพ้เป็นเวลาหนึ่งเดือนเพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับสู่สมดุล

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ป้องกันโรคภูมิแพ้ หอบหืด ในเด็ก ลดจำนวนผู้ป่วย

โรคภูมิแพ้ หอบหืด ปัจจุบันกลายเป็นโรคที่มีสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ พบผู้ป่วยมากมายทั่วโลก เกือบ 1ใน 10 ของประชากรโลกทั้งหมด โดยประชากรที่เป็นโรคภูมิแพ้รายใหม่กลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งก็คือ เด็กแรกเกิด และเด็กเล็กเพราะระบบภูมิค้มกันยังเจริญได้ไม่เต็มที่ สามารถเกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้งาย และอาจเป็นไปตลอดชีวิต ดังนั้นการลดการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในเด็กเล็ก ถือว่าเป็นการป้องกันโรคภูมิแพ้แต่เนิ่นๆ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน และทำให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีโรคภูมิแพ้ หอบหืดมาเป็นอุปสรรคต่อการเีรียนรู้ ที่จริงแล้วการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยเพื่อหลีกไกลจากโรคภูมิแพ้ เริ่มได้นับแต่การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ดี ตลอดจนอาหารการกินของคุณแม่ให้ดี โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูงต้องไม่มองข้ามละเลยควบคุมสิ่งแวดล้อม ภายในบ้าน เช่น ในเรื่องของไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง ต้องหมั่นทำความสะอาดดูแล จะสามารถลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปก็เป็นปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่งที่กลายเป็นตัวการทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่เกิดและพักอาศัยในบริเวณที่ีมีมลภาวะสูง เช่นเขตจราจรกลางเืมือง พื้นทีี่โรงงานอุตสาหกรรม อาหารการกินที่ีไม่ถูกสุขลักษณะ จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืดมากขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ อาหาร เริ่มตั้งแต่วัยเด็กแรกเกิดมาจากการที่เด็กกินนมแม่น้อยลง ทำให้ภูมิคุ้มกันเจริญได้ไม่เต็มที่ก็จะเสียงกับโรคภูมิแพ้ หอบหืดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่แม้ต้องทำงานนอกบ้าน จึงกลายเป็นเรื่องแปลกที่ต้องมีการส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ทั้งๆที่เป็นเรื่องธรรมดาที่ควรกระทำอยู่แล้ว การได้รับนมแม่อย่างน้อยในช่วง 6 เดือนแรกถือว่ามีส่วนช่วยป้องกันลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในเด็กได้


วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภูมิแพ้ หอบหืดแท้จริงแล้วควรรับมืออย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การรักษาโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุดก็คือการมุ่งเน้นไปที่การป้องกันด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ให้ร่างกายแข็งแรงจากภายใจเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองให้เป็นปกติและที่สำคัญ ต้องหาให้เจอว่าตนเองเป็นภูมิแพ้ต่อสิ่งใดแล้วทำการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และมลภาวะต่างๆ วิธีต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้หลีกหนีภูมิแพ้ได้ในระดับหนึ่ง แต่หากยังคงมีอาการโรคภูมิแพ้อยู่หรือมีอาการรุนแรงขึ้นแพทย์จะพิจารณาใช้ยาแก้แพ้ ร่วมกับสเตอรอยด์พ่นจมูกหรือฉีดวัคซีนภูมิแพ้ เพื่อบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ หอบหืดดังกล่าวให้ดีขึ้น

หากพิจารณาอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ หอบหืดในปัจจุบัน โดยแท้แล้วสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปที่กลายเป็นตัวการทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ อาหาร เริ่มตั้งแต่วัยเด็กแรกเกิดมาจากการที่เด็กกินนมแม่น้อยลง ทำให้ภูมิคุ้มกันเจริญได้ไม่เต็มที่ก็จะเสียงกับโรคภูมิแพ้ หอบหืดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่แม้ต้องทำงานนอกบ้าน จึงกลายเป็นเรื่องแปลกที่ต้องมีการส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ทั้งๆที่เป็นเรื่องธรรมดาที่ควรกระทำอยู่แล้ว การได้รับนมแม่อย่างน้อยในช่วง 6 เดือนแรกถือว่ามีส่วนช่วยป้องกันลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในเด็กได้

โรคหอบหืดโดยทั่วไปแล้วเกิดผ่านกลไกที่ไม่ต่างจากโรคภูมิแพ้นัก แต่มีอาการหนักที่หลอดลมทำให้เกิดอาการหอบหืด จากการที่ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้และหอบหืดที่พบบ่อยคือ ภูมิแพ้ หอบหืดต่อฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่การเกิดภูมิแพ้แบบหอบหืดกับอาหารทะเลก็พบได้บ่อย ความรุนแรงและความถี่ของโรคหอบหืดขึ้นอยู่กับความไวในการตอบสนองสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ในบางรายโรคหอบหืดอาจมีอาการรุนแรงมากถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ต้องป้องกันตั้งแต่เด็ก

ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพ กลายเป็นเรื่องที่นับวันยิ่งแย่ลงสวนทางกับเทคโนโลยีและความเจริญที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น หนึ่งในโรคที่เป็นปัญหามากคือโรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืด โดยจากอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้พบว่ามีโรคภูมิแพ้ หอบหืดเพิ่มขึ้นในทุกโรคโดยเฉพาะ โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ภูมิแพ้อากาศหรือเป็นหวัดเรื้อรังก็เพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งพบการแพ้อาหาร รองลงมาจะเป็นหอบหืด ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ส่วนในเรื่องของการแพ้นมวัวที่พบมากขึ้นเพราะในการเลี้ยงวัวมีการใช้สารเคมีต่างๆซึ่งสามารถเข้าไปสะสมในน้ำนมทำให้เด็กรุ่นใหม่มีโอกาสเกิดภูมิแพ้นมวัวมากขั้น โดยโรคภูมิแพ้นมวัวมักพบในเด็กขวบปีแรกโดยอายุเฉลี่ยที่วินิจฉัย 14.8 เดือนและที่อายุน้อยสุดประมาณ 7 วันโดยระยะของอาการมีได้ตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงรุนแรงมากเช่นใบหน้าบวม หายใจไม่ออกและอาจช็อกหมดสติได้

โดยแท้แล้วสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปที่กลายเป็นตัวการทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ อาหาร เริ่มตั้งแต่วัยเด็กแรกเกิดมาจากการที่เด็กกินนมแม่น้อยลง ทำให้ภูมิคุ้มกันเจริญได้ไม่เต็มที่ก็จะเสียงกับโรคภูมิแพ้ หอบหืดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่แม้ต้องทำงานนอกบ้าน จึงกลายเป็นเรื่องแปลกที่ต้องมีการส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ทั้งๆที่เป็นเรื่องธรรมดาที่ควรกระทำอยู่แล้ว การได้รับนมแม่อย่างน้อยในช่วง 6 เดือนแรกถือว่ามีส่วนช่วยป้องกันลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในเด็กได้

การลดการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดในเด็กเล็ก ถือว่าเป็นการป้องกันโรคภูมิแพ้แต่เนิ่นๆ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน และทำให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ที่จริงแล้วการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยเพื่อหลีกไกลจากโรคภูมิแพ้ เริ่มได้นับแต่การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ดี ตลอดจนอาหารการกินของคุณแม่ให้ดี โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีความเสี่ยงสูงต้องไม่มองข้ามละเลยควบคุมสิ่งแวดล้อม ภายในบ้าน เช่น ในเรื่องของไรฝุ่น สัตว์เลี้ยง ต้องหมั่นทำความสะอาดดูแล จะสามารถลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้